วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

134340



 ทำไมหรือ ? ทำไมต้อง "134340" ? 

    คำถามนี้ ถามได้ในหลายมุมมอง อย่าง มุมมองของคุณ หรือ มุมมองของผม
หากคุณที่รู้ในความหมายของ 134340 แล้ว และถ้าชอบมัน .....อ่านต่อไปจ้ะ (คิริ)

"134340" เป็นรหัสดาวเคราะห์น้อยของ "ดาวพลูโต"( 134340 พลูโต) อันเคยเป็น "ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 "  แต่ภายหลังการค้นพบ "ดาวอีริส" โดย ไมเคิล บราวน์ ในปี 2548   ทำให้สถานะของดาวเคราะห์ดวงที่ 9 เริ่มสั่นไหว

   เพราะเจ้าอีริส มีขนาดใหญ่กว่า พลูโต ถึง 27 % แถมยังพ่วงดาวบริวารมาด้วย 

จน วันที่ 24 สิงหาคม 2549 ในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) เมืองปราก สาธารณรัฐเช็ก ได้มีมติ "ปรับยศ" ดาวพลูโต จาก "ดาวเคราะห์" เป็น "ดาวเคราะห์แคระ" พร้อมประทับรหัสหน้าชื่อด้วยเลขตามลำดับการค้นพบ "134340" 

ส่วนดาวอีริสที่เป็นเจ้าปัญหาหลักในเรื่องนี้ ก็มีมติตั้งเป็น ดาวเคราะห์แคระ เช่นกัน พ่วงรหัส " 136199 "

    อย่างไรก็ตามถึงแม้ดาวพลูโต จะถูกตัดออกจาก "การจัดระบบดาวเคราะห์ของมนุษย์" แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญอะไรที่ มนุษย์ อยากค้นหา

ก่อนหน้าจะมีปรับยศดาวพลูโต ย้อนกลับไปต้นปี 2549 ในวันที่ 19 มกราคม

   ยานสำรวจอวกาศ "นิวฮอไรซันส์" ถูกปล่อยจากฐาน ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี ขึ้นสู่ห้วงอวกาศในภารกิจ "ศึกษาดาวพลูโต บริวาร และแถบไคเปอร์"

ยานสำรวจลำเหลือง มุ่งตรงสู่ดาวพลูโต ด้วยความเร็วเฉลี่ยที่ 50,000 กม./ชม. ภายในยานนั้น บรรจุเถ้ากระดูกของ ไคลป์ ทอมบอ ผู้ค้นพบดาวพลูโต ด้วย 

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 มีการส่งสัญญาณภาพจาก ยานนิวฮอไรซันส์ กลับมายังโลก 
เป็นภาพถ่าย ดาวพลูโต ในระยะห่างประมาณ 760,000 กิโลเมตร
    ซึ่งถือเป็นความสำเร็จและก้าวหน้าครั้งใหญ่ ของเหล่านักดาราศาสตร์โลก

    ไม่ใช่แค่นักวิทยาศาสตร์ที่ตื่นเต้นกับเรื่องนี้ แต่ประชาชนที่รู้ข่าวสารเกือบทั้งโลก ก็ต่างดีอกดีใจกับการเห็นภาพของดาวที่อยู่ห่างจากโลกเราไปกว่า 4,770 ล้านกิโลเมตร ได้แบบชัดๆ 

     ผมคิดอยากเป็นส่วนหนึ่งของ นิวฮอไรซันส์ ผมอยาก"เจอ"ดาวพลูโต แม้ว่าจะความคิดผมจะไร้สาระและห่างไกลกับความเป็นจริงมาก 

ผมคิดว่ามันคงเหงา  มีแต่บริวารทั้ง 5 ที่คอยอยู่รอบข้าง 
แต่ก็ยังมีคนที่พยายามจะเข้าหา มีคนที่ยังให้ความสนใจ 
มันจะรู้หรือเปล่า ? ว่ายังมีคนที่สนใจมัน....
บ้าแท้



แล้วมีใคร เคย หรือมีความคิดแบบนี้บ้างหรือเปล่า ?


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น